เครื่องวัดอุณหภูมิมีกี่ประเภท แต่ละประเภท ทำงานอย่างไร มาไขข้อสงสัย

เครื่องวัดอุณหภูมิมีกี่ประเภท

ทุกคนใช้เทอร์โมมิเตอร์สำหรับการวัดอุณหภูมิ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หลายคนจึงสงสัยว่าถึงประเภทต่างๆ ของเครื่องวัด วันนี้เราจะอธิบายประเภท และชนิดของเทอร์มอมิเตอร์ชนิดต่างๆ และการใช้งานในเบื้องต้น หลักการของทำงานคือการวัดอุณหภูมิของสิ่งต่างๆ เพื่อรับรู้ข้อมูลอุณหภูมิเช่น หากคุณวัดอุณหภูมิอากาศภายในห้อง คุณจะทราบทันทีว่าจะต้องเปิดเครื่องปรับอากาศ หรือไม่ หากคุณวัดอุณหภูมิร่างกาย คุณจะพบว่าคุณเป็นไข้ หรือไม่ ที่กล่าวมาเป็นการวัดในชีวิตประจำวัน

นอกเหนือจากนั้นการวัดอุณหภูมิ ยังถูกใช้ในงานด้านวิทยาศาสตร์ และกระบวนการผลิตเพื่อวัดอุณหภูมิของโลหะ ของเหลว ก๊าซ และวัสดุอื่นๆ และยังสามารถวัดอุณหภูมิอาหารขณะทำอาหาร เครื่องวัดมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับขอบเขตการใช้งาน และกลไกที่เกี่ยวข้อง เราจะบอกคุณเกี่ยวกับเครื่องวัดแบบทั่วไป นอกจากนี้ คุณจะสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับเทอร์โมมิเตอร์ชนิดต่างๆ ที่ใช้วัดอุณหภูมิร่างกาย

เครื่องมือวัดอุณหภูมิชนิดต่างๆ

เทคโนโลยีปัจจุบัน มีการรุดหน้าอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันสามารถวัดได้อย่างแม่นยำ และสามารถเปลี่ยนหน่วยได้ทันทีโดยไม่ต้องมีการคำนวณใดๆ สำหรับการวัดอุณหภูมิ ซึ่งมีหลายชนิด ซึ่งบางชนิดวัดอุณหภูมิจากการสัมผัสกับวัตถุ บางชนิดวัดจากรังสีอินฟราเรด (รังสีความร้อน)

ดังนั้นการเลือกตัววัดอุณหภูมิ ที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็น สิ่งแรกที่ควรพิจารณา คือความเหมาะสมสำหรับการใช้งาน ช่วงการวัดอุณหภูมิที่ต้องการ ความแม่นยำ และรายละเอียดปลีกย่อยเช่นการบันทึกข้อมูล หน่วยความจำภายในเป็นต้น รายละเอียดดังต่อไปนี้ เป็นเครื่องมือวัดที่ได้รับความนิยมดังรายละเอียดด้านล่าง

เครื่องวัดอุณหภูมิมีกี่ประเภทสามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้

เราแบ่งประเภทออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ได้แก่ เครื่องวัดสำหรับอุตสาหกรรม และเครื่องวัดสำหรับด้านการแพทย์ ดังต่อไปนี้

1. สำหรับการแพทย์วัดอุณหภูมิร่างกาย วัดไข้

1.1 อินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์ทางด้านการแพทย์

หลักการทำงานเหมือนกับเครื่องวัดอินฟราเรดสำหรับอุตสาหกรรม แต่มีออกแบบมาเพื่อการวัดอุณหภูมิร่างกาย วัดไข้โดยเฉพาะ เครื่องวัดกลุ่มนี้มีความแม่นยำสูง ±0.3 ℃ สามารถบอกอุณหภูมิได้จากระยะไกล ทำให้เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์มีความปลอดภัย และเสี่ยงต่อการติดโรคลดน้อยลง (ห้ามนำเครื่องวัดแบบอินฟราเรด สำหรับอุตสาหกรรมมาใช้ด้านการแพทย์โดยเด็ดขาด เนื่องจากความแม่นยำเทียบไม่ได้กับเครื่องวัดด้านการแพทย์)

กรณีที่จำเป็นต้องใช้เครื่องวัดด้านการแพทย์ ควรสอบถามผู้จำหน่ายถึงการมีใบอนุญาติจาก อย (และเนื่องจาก อ.ย ไม่อนุญาติให้มีการโฆษณาเครื่องมือแพทย์ คุณอาจต้องสอบถามผู้จำหน่ายหลังไมค์) เป็นต้น มีอุปกรณ์วัดอุณหภูมิทางการแพทย์หลายชนิด แต่ที่แนะนำได้แก่ เครื่องวัดอุณหภูมิหน้าผาก (Forehead thermometer) ซึ่งสามารถสแกนอุณหภูมิได้อย่างรวดเร็ว และหลีกเลี่ยงการติดเชื้อจากการเข้าใกล้ และเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายแบบอินฟราเรด

แนะนำเครื่องวัดอินฟราเรดทางการแพทย์สำหรับวัดไข้รุ่น HT-820D

HT-820D แบรนด์ HTI สำหรับวัดไข้ วัดหน้าผาก ความแม่นยำสูง ± 0.3 ℃ หน้าจอ LCD พร้อมกับ Back light ทำให้สามารถอ่านค่าได้แม้ในที่แสงสว่างน้อย หน้าจอแสดง สีเขียว สีเหลือง สีแดง ตามระดับอุณหภูมิทึ่ตรวจวัดไข้ ความร้อน เหมาะสำหรับวัดอุณหภูมิร่างกาย สำหรับการตรวจวัดไข้ ตรวจโควิด สินค้าได้มาตรฐาน

HT-820D

1.2 แถบอุณหภูมิ (Temperature strips)

มักใช้ในโรงพยาบาลเพื่อกำหนดอุณหภูมิของผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว แถบเหล่านี้มีผลึกเหลวที่ตอบสนองต่อความร้อนโดยการเปลี่ยนสี แต่ละสีสอดคล้องกับอุณหภูมิของร่างกาย วัดไข้ได้อย่างรวดเร็ว แต่มีความน่าเชื่อถือน้อยที่สุด

มีกระบวนการทางเคมีที่ซับซ้อนอยู่เบื้องหลัง วิธีการทำงานของแถบวัดอุณหภูมิ แต่หลักการเหล่านี้ได้รับการออกแบบอย่างเรียบง่าย มีองค์ประกอบที่ไวต่ออุณหภูมิอยู่ภายใต้ชั้นป้องกันที่โปร่งใส แถบวัดอุณหภูมิประกอบด้วยส่วนผสมของสารเคมีที่แตกต่างกัน ซึ่งผลิตบนพื้นผิวกระดาษดูดซับพิเศษ หากถึงอุณหภูมิที่กำหนดไว้ และปฏิกิริยาทางเคมีแสดงโดยการเปลี่ยนสี แถบวัดนี้ยังสามารถนำมาใช้งานในอุตสหกรรมเช่น นำไปติดไว้ที่มอเตอร์ และ/หรือเครื่องจักรกลชนิดอื่นๆ เพื่อตรวจติดตามอุณหภูมิได้ง่ายเป็นต้น

1.3 ปรอทวัดไข้ (Mercury-filled thermometers)

ภายในเต็มไปด้วยปรอทในกระเปาะแก้ว เป็นเครื่องวัดชนิดหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุด และกำลังจะถูกยกเลิกการใช้งานไปอย่างช้าๆ เนื่องจากความแม่นยำแล้ว อาจเป็นอันตรายได้หากแตก หัก ทำให้สารปรอทภายในรั่วออกมา ซึ่งเป็นพิษต่อคน และสิ่งแวดล้อม (มีทั้งแบบดิจิตอล และแบบปรอท)

2. เทอร์โมมิเตอร์สำหรับอุตสาหกรรมแบ่งได้ดังต่อไปนี้

2.1 เครื่องวัดแบบดิจิตอล (Digital thermometer)

เครื่องวัดชนิดนี้ เป็นหนึ่งในการพัฒนาล่าสุดในด้านเทคโนโลยี ใช้เซ็นเซอร์อิเล็กทรอนิกส์แทนที่จะใช้ของเหลว หรือก๊าซ มีหน้าจอดิจิตอล ซึ่งสามารถแสดงผลการวัดได้ในเวลาไม่กี่วินาที เทอร์มอมิเตอร์แบบดิจิตอล มีเทอร์มิสเตอร์ ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ และแสดงผลลัพธ์บนหน้าจอ ซึ่งเครื่องวัดประเภทนี้จะมีความแม่นยำสูง และตอบสนองอย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับวัดอุณหภูมิห้อง ตู้เย็นเป็นต้น

แนะนำเครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอลคุณภาพสูง

แนะนำเครื่องวัดแบบดิจิตอล (Digital thermometer) สินค้าได้มาตรฐาน ขายราคาถูก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

2.2 เครื่องวัดแบบอินฟราเรด (Infrared thermometer)

การวัดอุณหภูมิทั้งหมดที่เรากล่าวถึงข้างต้น จำเป็นต้องมีการสัมผัสเพื่อวัดค่าอุณหภูมิ แต่เครื่องวัดชนิดนี้ ใช้รังสีอินฟราเรด หรือความร้อนที่วัตถุปล่อยออกมา เพื่อแสดงค่าอุณหภูมิ ซึ่งหมายความว่า สามารถบอกอุณหภูมิได้จากระยะไกล บางคนเรียกเครื่องวัดชนิดนี้ว่า “ปืนวัดอุณหภูมิ” เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นแบบพกพา และดูเหมือนปืนขนาดเล็ก เครื่องวัดชนิดนี้เหมาะสำหรับอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ การทำอาหารเป็นต้น (เครื่องวัดชนิดนี้ไม่เหมาะสำหรับด้านการแพทย์วัดไข้ วัดอุณหภูมิร่างกาย มีเครื่องวัดแบบอินฟราเรดสำหรับการแพทย์โดยเฉพาะ)

Infrared thermometer คุณภาพสูง

เครื่องวัดแบบอินฟราเรด (Infrared thermometer) รุ่นแนะนำสินค้าได้มาตรฐาน คุณภาพสูงขายราคาถูก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

2.3 สำหรับวัดอุณหภูมิอาหาร (Food Thermometer)

เครื่องมือวัดอุณหภูมิอาหารชนิดนี้ มีหัววัดลักษณะปลายแหลม ทำจากสแตนเลสคุณภาพสูง ไม่เป็นสนิม ทำให้เหมาะสำหรับการวัดในอุตสาหกรรมอาหาร และเป็นเครื่องวัดที่ได้ตามมาตรฐาน GMP และ HACCP เป็นต้น

เทอร์มอมิเตอร์สำหรับวัดอุณหภูมิอาหารคุณภาพสูง

อุปกรณ์วัดอุณหภูมิสำหรับอาหาร (Food Thermometer) รุ่นแนะนำสินค้าได้มาตรฐาน คุณภาพสูงขายราคาถูก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

2.4 เทอร์โมสแกน (กล้องถ่ายภาพความร้อน)

เครื่องวัดเทอร์โมสแกนชนิดนี้ จะแสดงค่าพลังงานความร้อนเป็นภาพแสง ที่ตามองเห็นได้ เพื่อการวิเคราะห์อุณหภูมิ อุปกรณ์นี้มีความแม่นยำสูง โดยใช้ความร้อนเพียงเล็กน้อยในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับงานด้านอุตสาหกรรม ซ่อมบำรุงด้านไฟฟ้า เครื่องจักรกล และการตรวจหารอยรั่วของน้ำในผนังที่ตามนุษย์ ไม่สามารถมองเห็นได้

เทอร์โมสแกน (กล้องถ่ายภาพความร้อน) คุณภาพสูง

สินค้ารุ่นแนะนำเทอร์โมสแกน (กล้องถ่ายภาพความร้อน) ได้มาตรฐาน คุณภาพสูงขายราคาถูก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

2.5 แบบมานอเมตริก (Manometric thermometers)

เครื่องวัดประเภทนี้ เป็นที่รู้จักกันในนามวัดแรงดัน หรือไอน้ำ สามารถวัดอุณหภูมิตามการเปลี่ยนแปลงของความดันภายในก๊าซ หรือของเหลว เหมาสำหรับการวัดอุณหภูมิในก๊าซแอลกอฮอล์ คลอโรมีเทน และของเหลวอื่นๆ

2.6 แบบกระเปาะแก้ว (Liquid-in-glass thermometer)

เป็นชนิดที่เก่าแก่ที่สุด และพบได้บ่อย ถูกใช้เกือบทุกที่ และหลักการทำงานนั้นง่ายมาก เครื่องวัดชนิดนี้ประกอบด้วยหลอดแก้ว ที่เต็มไปด้วยของเหลว ที่เป็นแอลกอฮอล์ หรือปรอท เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไปของเหลวจะขยายตัว หรือหดตัว และขีดเส้นระดับอุณหภูมิเป็นไปได้เพื่อกำหนดค่าอุณหภูมิ เครื่องวัดชนิดนี้มีความแม่นยำต่ำ ไม่เหมาะสำหรับการวัดที่ต้องการความแม่นยำสูง จึงถูกใช้ในการวัดแบบทั่วไปเช่นวัดอุณหภูมิห้อง อากาศ และใส่ไว้ในตู้เย็นเป็นต้น

2.7 ไบเมทัล (Bimetal thermometer)

เครื่องวัดประเภทนี้เหมาะสำหรับช่าง หรืองานด้านอุตสาหกรรม หลักการทำงานทำจากโลหะสองชนิด ที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิต่างกัน และทำให้เกิดการบิดงอที่ต่างกัน เพื่อใช้ในการกำหนดค่าอุณหภูมิ เครื่องวัดแบบไบเมทัลนี้เหมาะอย่างยิ่ง สำหรับวัดอุณหภูมิที่มีค่าสูงๆ ประมาณ 60°C ขึ้นไปเนื่องจากการตอบสนอบที่รวดเร็ว แต่จะแม่นยำน้อยที่อุณหภูมิต่ำๆ สามารถพบเครื่องวัดชนิดนี้ได้ ในเครื่องใช้ในครัวเรือนจำนวนมาก เช่น เตาอบเป็นต้น

เอกสารรับรองการสอบเทียบเครื่องวัด ISO17025

เครื่องมือวัดทุกชนิดมีค่าความผิดพลาด แต่ค่าผิดพลาดควรมีค่าน้อยในระดับที่ยอมรับได้ และเพื่อยืนยันความถูกต้อง และแม่นยำของเครื่องมือวัด ผู้ใช้งานควรร้องขอเอกสารรับรองการสอบเทียบ Certificate of Calibration จากผู้ผลิต (มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม) ดังตัวอย่างเอกสารต่อไปนี้

ตัวอย่างเอกสารรับรองการสอบเทียบเครื่องวัด ISO17025

บทความน่าสนใจ

  • วิธีใช้เครื่องมือวัดอุณหภูมิ และความชื้น
  • เครื่องวัดอุณหภูมิน้ำ
  • เครื่องมือวัดอุณหภูมิอากาศ

สรุป

  1. เข้าใจในชนิดของเทอร์โมวัดอุณหภูมิ และประเภทได้ในเบื้องต้น
  2. เครื่องวัดมีชนิดที่ใช้ในอุตสาหกรรม และด้านการแพทย์ ควรเลือกให้เหมาะกับการใช้งาน
  3. ควรสอบถามผู้จำหน่ายเพื่อขอใบรับรอง Certificate of Calibration (อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม) เพื่อผลการวัดที่มีความแม่นยำ
  4. กรณีที่จำเป็นต้องใช้เครื่องวัดด้านการแพทย์ ควรสอบถามการมีใบอนุญาติจาก อย เป็นต้น