เทอร์มอมิเตอร์ เครื่องมือใช้ในการวัดอุณหภูมิ ทำงานอย่างไร ไปดูคำตอบ

เทอร์มอมิเตอร์

เทอร์มอมิเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดอุณหภูมิ หรือการวัดระดับอุณหภูมิ เป็นอุปกรณ์สากลที่ใช้วัดอุณหภูมิ อุณหภูมิ และความร้อนเป็นคำสองคำที่มักทำให้ผู้คนสับสน ตัวอย่างเช่น อธิบายความร้อนของวัตถุได้อย่างไร อะไรเป็นตัววัด หรือพื้นฐานสำหรับความร้อนนั้น คำตอบคือ อุณหภูมิ และความร้อนเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง และหน่วยของพลังงานคือจูล ในทางกลับกัน อุณหภูมิคือตัวชี้วัดความร้อนนั้น ซึ่งหมายความว่า ถ้าความร้อนมากขึ้นอุณหภูมิก็จะมากขึ้นด้วย โดยเราใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เทอร์โมมิเตอร์ เพื่อวัดอุณหภูมิของวัตถุ

หน่วยการวัดของเทอร์มอมิเตอร์

ปัจจุบันหน่วยเซลเซียส ซึ่งตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ชาวสวีเดน แอนเดอร์ส เซลเซียส ซึ่งได้รับนิยมเป็นหน่วยที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดที่ใช้กันทั่วโลก และหน่วยวัดอื่นๆ ที่ยอมรับในสหรัฐอเมริกาได้แก่หน่วยฟาเรนไฮต์ ซึ่งได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ Daniel Fahrenheit นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ในประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกหน่วยฟาเรนไฮต์ถูกแทนที่ด้วยเซลเซียส

การประยุกต์ใช้งานเทอร์มอมิเตอร์

เทอโมมิเตอร์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับวัตถุประสงค์หลายอย่าง ตั้งแต่ในครัวเรือนไปจนถึงภาคอุตสาหกรรม ในห้องครัวสามารถวัดอุณหภูมิของอาหารได้ เช่นเดียวกันในตู้เย็นจะช่วยรักษาอุณหภูมิที่ตั้งไว้ ในโรงงานเทอโมมิเตอร์ในเตาเผาจะช่วยให้รู้อุณหภูมิได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะต้องเลือกประเภทของเทอร์โมมิเตอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

ประโยชน์ของการใช้งานเทอร์มอมิเตอร์ที่สำคัญดังนี้:

  1. ตรวจสอบเครื่องยนต์ หรือแบริ่ง
  2. ระบบปรับอากาศ
  3. การตรวจสอบการขนส่ง และยานยนต์
  4. เตรียมอาหาร
  5. สำหรับการตรวจหาปัญหาที่ซ่อนอยู่
  6. สำหรับการสำรวจอาคาร เพื่อตรวจหาความชื้น และการรั่วไหล
  7. สำหรับระบุการสูญเสียพลังงาน และฉนวนที่ไม่ดี ความผิดพลาดทางไฟฟ้า และปัญหาเกี่ยวกับระบบประปา
  8. ในห้องปฏิบัติการ และห้องเก็บของ

การเลือกเทอร์มอมิเตอร์

การเลือกเทอโมมิเตอร์สิ่งสำคัญคือ ต้องทำความเข้าใจในหลักการทำงาน ข้อมูลจำเพาะต่างๆ เช่นช่วงการวัดอุณหภูมิ ความละเอียด และความแม่นยำ มีผลต่อการทำงานของเครื่องวัดอุณหภูมิ ขอแนะนำให้บำรุงรักษาที่จำเป็น เพื่อให้ได้การวัดซ้ำที่มีคุณภาพ สภาพแวดล้อมในการจัดเก็บเครื่องมือ ควรได้รับการพิจารณา ซึ่งจะส่งผลให้การอ่านที่ไม่ถูกต้อง

การสอบเทียบ (Calibration)

นอกจากการเลือกประเภทของเทอร์โมมิเตอร์ที่เหมาะสมแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ ต้องทำความเข้าใจว่า คุณต้องการความแม่นยำที่ตรวจสอบย้อนกลับได้ ความแม่นยำที่ตรวจสอบได้มีมาตรฐานสูง

ตัวอย่างเอกสารสอบเทียบ