ไมโครมิเตอร์คืออะไร ใช้งานอย่างไร และมีวิธีเก็บรักษาดูแลทำได้อย่างไร

ไมโครมิเตอร์คือ

ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) คือเครื่องมือวัดที่มีความแม่นยำ ที่ใช้ในการวัดที่ละเอียดมาก และมีให้เลือกหน่วยการวัดได้ในรุ่นเมตริก (หน่วยเป็นมิลลิเมตร) และรุ่นอิมพีเรียล (หน่วยการวัดเป็นนิ้ว) ในบางรุ่นที่เป็นแบบดิจิตอล สามารถเลือกการใช้งานได้ทั้งสองหน่วย โดยทั่วไป การวัดไมโครมิเตอร์ ค่าการวัดจะเพิ่มขึ้นทีละ 0.01 มม. และอิมพีเรียลใน 0.001 นิ้ว การอุปกรณ์นี้มีความแม่นยำมากกว่าอุปกรณ์วัดอื่นๆ เช่นเวอร์เนียคาลิปเปอร์ ทำให้เป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมต่างๆ การวัดชิ้นส่วนยานยนต์ การตรวจสอบคุณภาพ QC และถูกใช้งานสำหรับช่างเทคนิค และอื่นๆ เป็นต้น

ส่วนประกอบต่างๆ

  1. Frame (โครง ): เป็นชิ้นส่วนหลักมีหน้าที่สำหรับยึดชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันออกแบบมาคล้าย C-CLAMP ที่บริเวณโครงเหล็กจะระบุแบรนด์ของสินค้า และช่วงการวัดค่าความละเอียดแสดงไว้ด้วย โครงผลิตมาจากเหล็กกล้ากันสนิม เพื่อความทนทานในการใช้งาน
  2. Anvil (แกนรับ): สำหรับรองรับชิ้นงานในขณะที่ทำการวัด มีลักษณะเป็นเพลายึดอยู่กับโครงทํามาจากเหล็กหล่อ มีความแข็งแรงทนทาน และป้องกันการสึกหรอจากการใช้งาน ส่วนประกอบนี้เป็นส่วนหนึ่งของความแม่นยำ
  3. Spindle (แกนวัด): ทําหน้าที่เป็นแกนเคลื่อนที่เข้า และออกในขณะที่เราหมุน ปลอกหมุน (Thimble) เพื่อทำการวัดชิ้นงานมีลักษณะเป็นเพลากลม สามารถหมุนเข้า-ออกเพื่อทำการวัดขนาดชิ้นงาน ที่ด้านปลายจะทำมาจากเหล็กหล่อเพื่อลดการสึกหรอ
  4. Lock (ก้านล็อก): ทำหน้าที่ล็อกแกนวัดให้อยู่กับที่ เพื่อการอ่านค่าวัด มีลักษณะเป็นก้านสามารถโยกไป-มาเพื่อล็อก และคลายล็อก
  5. Sleeve (ปลอกสเกล): มีลักษณะเป็นก้านปลอกทรงกระบอก มีขีดสเกลหลักอยู่ตลอดความยาว
  6. Thimble (ปลอกหมุนวัด): ทำหน้าที่หมุนเข้าวัดชิ้นงาน มีลักษณะเป็นปลอกทรงกระบอกสวมอยู่กับก้าน ปลอกสเกลหลักที่ก้านปลายจะมีขีดสเกลอยู่รอบๆ เพื่ออ่านค่า
  7. Ratchet knob (หัวหมุนกระทบ): หมุนเพื่อให้แกนวัดเคลื่อนที่เข้าสัมผัสกับชิ้นงาน ทุกครั้งที่หมุนแกนวัดใกล้จะสัมผัสชิ้นงาน ควรหมุนเพื่อให้เลื่อนเข้าสัมผัสชิ้นงานเบาๆ

ประเภทไมโครคาลิปเปอร์

มีหลายประเภทซึ่งได้แก่ไมโครมิเตอร์ดิจิตอล และอนาล็อก และสามารถแบ่งตามออกแบบ เพื่อวัดวัตถุหรือช่องว่างประเภทต่างๆ ควรเลือกใช้งานให้ถูกต้อง โดยแบ่งชนิดตามการออกแบบใช้งานได้ดังต่อไปนี้ แบบวัดภายนอก แบบวัดภายใน และแบบวัดลึกซึ่งมีรายละเอียดดังบทความด้านล่าง

สำหรับการวัดภายนอก:

หากคุณต้องการวัดความหนา หรือเส้นผ่านศูนย์กลางของชิ้นส่วนเล็กๆ หรือข้อต่อคุณจะต้องใช้ชนิด Micrometer ภายนอกให้ความแม่นยำสูงสุด สำหรับการวัดประเภทนี้ ความสม่ำเสมอการออกแบบที่ตรงไปตรงมา และใช้งานง่ายทำให้เป็นเครื่องมือวัดมาตรฐานอุตสาหกรรม

มีการออกแบบที่แตกต่างกันซึ่งทำให้ง่ายต่อการวัด มีให้เลือกทั้งในรูปแบบดิจิทัล และแบบอนาล็อก โดยทั่วไปใช้ในการวัดขนาดเส้นฝ่านศูนย์กลางภายนอกของวัตถุเช่นสายไฟ ท่อทรงกลม เพลาและบล็อก

เครื่องวัดชนิดนี้ ออกแบบมาสำหรับการวัดด้านนอกของวัตถุ ได้แก่เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก (OD) วัดขนาดภายนอกของท่อ โลหะ หรือวัตดุอื่นๆ ที่เป็นการวัดขนาดจากภายนอก และเมื่อดูจากลักษณะดูคล้ายกับ C-clamp มีทั้งแบบอนาล็อก และแบบดิจิตอล

รูปภาพของไมโครคาลิปเปอร์วัดภายนอกแบบดิจิตอล

ชนิดสำหรับการวัดภายนอกคุณภาพสูง สามารถออกใบรับรอง (Certificate of Calibration) ซึ่งแบ่งตามขนาดเช่น 0-25 mm และ 25-50 mm และ 50-75 mm และ 75-100 mm ซึ่งผู้ใช้งานควรเลือกขนาดให้เหมาะสมสำหรับการวัด

ไมโครมิเตอร์วัดนอก

สำหรับการวัดภายใน

เครื่องมือวัดละเอียดสำหรับวัดภายใน ออกแบบมาใช้เพื่อวัดขนาดภายใน หรือเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน (Inside Dimeter) ออกแบบมาให้มีลักษณะเหมือนปากกา มีโครงสร้าง และส่วนประกอบเหมือนกับชนิดวัดภายนอก ตัวอย่างการใช้งานวัดขนาดท่อภายใน วัดขนาดความกว้างยาวสูงของรูภายในเป็นต้น

รูปภาพของไมโครคาลินเปอร์สำหรับวัดภายในแบบดิจิตอล

ชนิดสำหรับวัดภายในคุณภาพสูงราคาถูก สามารถออกใบรับรอง (Certificate of Calibration) ซึ่งแบ่งตามขนาดเช่น 3-25 mm และ 25-50 mm และ 50-75 mm ซึ่งผู้ใช้งานควรเลือกขนาดให้เหมาะสมสำหรับการวัด

ไมโครมิเตอร์วัดใน

สำหรับวัดลึก

เครื่องมือวัดละเอียดสำหรับวัดลึกใ ช้สำหรับการวัดความลึกของรู ร่อง หรือช่องอุปกรณ์ชนิดนี้มีฐานสำหรับวางบนช่องที่ต้องการวัด เมื่อหมุนไปมาก้านวัดจะลงมาจากฐาน แล้วเมื่อหมุนต่อไปจนกว่าแกนจะกระทบกับพื้นผิวด้านล่างของรูที่วัด ทำให้รู้ถึงความลึกของวัสดุที่ต้องการ มีทั้งแบบอนาล็อค และแบบดิจิตอล ที่แสดงผลการวัดเป็นตัวเลข ให้ผลการวัดที่แน่นอนแม่นยำ สำหรับความลึกของหลุม ช่อง และระยะห่างระหว่างพื้นผิว และพื้นที่ปิด

รูปภาพของไมโครคาลิปเปอร์สำหรับวัดลึกแบบดิจิตอล

ชนิดสำหรับการวัดความลึกคุณภาพสูงราคาถูก สามารถออกใบรับรอง (Certificate of Calibration) ซึ่งแบ่งตามขนาดเช่น 3-25 mm และ 25-50 mm และ 50-75 mm ซึ่งผู้ใช้งานควรเลือกขนาดให้เหมาะสมสำหรับการวัด

ไมโครมิเตอร์วัดลึก

ข้อดี และข้อเสีย

  1. ข้อดี: ให้การวัดที่แม่นยำมาก สามารถวัดได้ละเอียดมากถึง 0.001 มม (1 ไมครอน). หรือ 0.0001 นิ้ว
  2. ข้อเสีย: มีช่วงการวัดที่จำกัด ส่วนใหญ่มีช่วงการวัดเพียง 1 นิ้ว หรือ 25 มม. ซึ่งหมายความว่าจำเป็นต้องใช้ Micrometer รุ่นที่แตกต่างกัน สำหรับการวัดวัตถุที่มีขนาดแตกต่างกัน

การบำรุงรักษา และดูแล

เช็ดเส้นรอบวงของแกนหมุนอย่างสม่ำเสมอ และทั้งสองหน้าวัดด้วยผ้าแห้งที่ไม่มีขุย ระวังอย่าทำตก หากคุณทำให้ของคุณเสียหาย โดยไม่ได้ตั้งใจให้ตรวจสอบความถูกต้องก่อนทำการวัด คุณอาจต้องปรับเทียบใหม่ เพื่อตรวจสอบความแม่นยำ

  1. การปรับเทียบใหม่ หรือหลังจากเก็บไว้ไม่ใช้งานเป็นระยะเวลานานๆ
  2. ใช้น้ำมันอเนกประสงค์จำนวนเล็กน้อย กับบริเวณภายนอก เพื่อป้องกันการกัดกร่อน และสนิม
  3. ใส่สารดูดความชื้นในกล่องเพื่อลดความชื้น

นอกจากนี้ยังควรระมัดระวังในการหล่อลื่นเกลียวภายใน หากใช้งานเป็นครั้งคราว หรือไม่ใช้งานเป็นเวลาหลายเดือน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเก็บไว้ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก และมีความชื้นต่ำส่วนใหญ่ มาพร้อมกับกล่องเก็บ และมีสารดูดความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสนิม และเพื่อให้ปลอดภัยเมื่อไม่ใช้งาน