ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) คือเครื่องมือวัดที่มีความแม่นยำ ที่ใช้ในการวัดที่ละเอียดมาก และมีให้เลือกหน่วยการวัดได้ในรุ่นเมตริก (หน่วยเป็นมิลลิเมตร) และรุ่นอิมพีเรียล (หน่วยการวัดเป็นนิ้ว) ในบางรุ่นที่เป็นแบบดิจิตอล สามารถเลือกการใช้งานได้ทั้งสองหน่วย โดยทั่วไป การวัดไมโครมิเตอร์ ค่าการวัดจะเพิ่มขึ้นทีละ 0.01 มม. และอิมพีเรียลใน 0.001 นิ้ว การอุปกรณ์นี้มีความแม่นยำมากกว่าอุปกรณ์วัดอื่นๆ เช่นเวอร์เนียคาลิปเปอร์ ทำให้เป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมต่างๆ การวัดชิ้นส่วนยานยนต์ การตรวจสอบคุณภาพ QC และถูกใช้งานสำหรับช่างเทคนิค และอื่นๆ เป็นต้น
ส่วนประกอบต่างๆ
- Frame (โครง ): เป็นชิ้นส่วนหลักมีหน้าที่สำหรับยึดชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันออกแบบมาคล้าย C-CLAMP ที่บริเวณโครงเหล็กจะระบุแบรนด์ของสินค้า และช่วงการวัดค่าความละเอียดแสดงไว้ด้วย โครงผลิตมาจากเหล็กกล้ากันสนิม เพื่อความทนทานในการใช้งาน
- Anvil (แกนรับ): สำหรับรองรับชิ้นงานในขณะที่ทำการวัด มีลักษณะเป็นเพลายึดอยู่กับโครงทํามาจากเหล็กหล่อ มีความแข็งแรงทนทาน และป้องกันการสึกหรอจากการใช้งาน ส่วนประกอบนี้เป็นส่วนหนึ่งของความแม่นยำ
- Spindle (แกนวัด): ทําหน้าที่เป็นแกนเคลื่อนที่เข้า และออกในขณะที่เราหมุน ปลอกหมุน (Thimble) เพื่อทำการวัดชิ้นงานมีลักษณะเป็นเพลากลม สามารถหมุนเข้า-ออกเพื่อทำการวัดขนาดชิ้นงาน ที่ด้านปลายจะทำมาจากเหล็กหล่อเพื่อลดการสึกหรอ
- Lock (ก้านล็อก): ทำหน้าที่ล็อกแกนวัดให้อยู่กับที่ เพื่อการอ่านค่าวัด มีลักษณะเป็นก้านสามารถโยกไป-มาเพื่อล็อก และคลายล็อก
- Sleeve (ปลอกสเกล): มีลักษณะเป็นก้านปลอกทรงกระบอก มีขีดสเกลหลักอยู่ตลอดความยาว
- Thimble (ปลอกหมุนวัด): ทำหน้าที่หมุนเข้าวัดชิ้นงาน มีลักษณะเป็นปลอกทรงกระบอกสวมอยู่กับก้าน ปลอกสเกลหลักที่ก้านปลายจะมีขีดสเกลอยู่รอบๆ เพื่ออ่านค่า
- Ratchet knob (หัวหมุนกระทบ): หมุนเพื่อให้แกนวัดเคลื่อนที่เข้าสัมผัสกับชิ้นงาน ทุกครั้งที่หมุนแกนวัดใกล้จะสัมผัสชิ้นงาน ควรหมุนเพื่อให้เลื่อนเข้าสัมผัสชิ้นงานเบาๆ
ประเภทไมโครคาลิปเปอร์
มีหลายประเภทซึ่งได้แก่ไมโครมิเตอร์ดิจิตอล และอนาล็อก และสามารถแบ่งตามออกแบบ เพื่อวัดวัตถุหรือช่องว่างประเภทต่างๆ ควรเลือกใช้งานให้ถูกต้อง โดยแบ่งชนิดตามการออกแบบใช้งานได้ดังต่อไปนี้ แบบวัดภายนอก แบบวัดภายใน และแบบวัดลึกซึ่งมีรายละเอียดดังบทความด้านล่าง
สำหรับการวัดภายนอก:
หากคุณต้องการวัดความหนา หรือเส้นผ่านศูนย์กลางของชิ้นส่วนเล็กๆ หรือข้อต่อคุณจะต้องใช้ชนิด Micrometer ภายนอกให้ความแม่นยำสูงสุด สำหรับการวัดประเภทนี้ ความสม่ำเสมอการออกแบบที่ตรงไปตรงมา และใช้งานง่ายทำให้เป็นเครื่องมือวัดมาตรฐานอุตสาหกรรม
มีการออกแบบที่แตกต่างกันซึ่งทำให้ง่ายต่อการวัด มีให้เลือกทั้งในรูปแบบดิจิทัล และแบบอนาล็อก โดยทั่วไปใช้ในการวัดขนาดเส้นฝ่านศูนย์กลางภายนอกของวัตถุเช่นสายไฟ ท่อทรงกลม เพลาและบล็อก
เครื่องวัดชนิดนี้ ออกแบบมาสำหรับการวัดด้านนอกของวัตถุ ได้แก่เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก (OD) วัดขนาดภายนอกของท่อ โลหะ หรือวัตดุอื่นๆ ที่เป็นการวัดขนาดจากภายนอก และเมื่อดูจากลักษณะดูคล้ายกับ C-clamp มีทั้งแบบอนาล็อก และแบบดิจิตอล
รูปภาพของไมโครคาลิปเปอร์วัดภายนอกแบบดิจิตอล
ชนิดสำหรับการวัดภายนอกคุณภาพสูง สามารถออกใบรับรอง (Certificate of Calibration) ซึ่งแบ่งตามขนาดเช่น 0-25 mm และ 25-50 mm และ 50-75 mm และ 75-100 mm ซึ่งผู้ใช้งานควรเลือกขนาดให้เหมาะสมสำหรับการวัด
ไมโครมิเตอร์วัดนอกสำหรับการวัดภายใน
เครื่องมือวัดละเอียดสำหรับวัดภายใน ออกแบบมาใช้เพื่อวัดขนาดภายใน หรือเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน (Inside Dimeter) ออกแบบมาให้มีลักษณะเหมือนปากกา มีโครงสร้าง และส่วนประกอบเหมือนกับชนิดวัดภายนอก ตัวอย่างการใช้งานวัดขนาดท่อภายใน วัดขนาดความกว้างยาวสูงของรูภายในเป็นต้น
รูปภาพของไมโครคาลินเปอร์สำหรับวัดภายในแบบดิจิตอล
ชนิดสำหรับวัดภายในคุณภาพสูงราคาถูก สามารถออกใบรับรอง (Certificate of Calibration) ซึ่งแบ่งตามขนาดเช่น 3-25 mm และ 25-50 mm และ 50-75 mm ซึ่งผู้ใช้งานควรเลือกขนาดให้เหมาะสมสำหรับการวัด
ไมโครมิเตอร์วัดในสำหรับวัดลึก
เครื่องมือวัดละเอียดสำหรับวัดลึกใ ช้สำหรับการวัดความลึกของรู ร่อง หรือช่องอุปกรณ์ชนิดนี้มีฐานสำหรับวางบนช่องที่ต้องการวัด เมื่อหมุนไปมาก้านวัดจะลงมาจากฐาน แล้วเมื่อหมุนต่อไปจนกว่าแกนจะกระทบกับพื้นผิวด้านล่างของรูที่วัด ทำให้รู้ถึงความลึกของวัสดุที่ต้องการ มีทั้งแบบอนาล็อค และแบบดิจิตอล ที่แสดงผลการวัดเป็นตัวเลข ให้ผลการวัดที่แน่นอนแม่นยำ สำหรับความลึกของหลุม ช่อง และระยะห่างระหว่างพื้นผิว และพื้นที่ปิด
รูปภาพของไมโครคาลิปเปอร์สำหรับวัดลึกแบบดิจิตอล
ชนิดสำหรับการวัดความลึกคุณภาพสูงราคาถูก สามารถออกใบรับรอง (Certificate of Calibration) ซึ่งแบ่งตามขนาดเช่น 3-25 mm และ 25-50 mm และ 50-75 mm ซึ่งผู้ใช้งานควรเลือกขนาดให้เหมาะสมสำหรับการวัด
ไมโครมิเตอร์วัดลึกข้อดี และข้อเสีย
- ข้อดี: ให้การวัดที่แม่นยำมาก สามารถวัดได้ละเอียดมากถึง 0.001 มม (1 ไมครอน). หรือ 0.0001 นิ้ว
- ข้อเสีย: มีช่วงการวัดที่จำกัด ส่วนใหญ่มีช่วงการวัดเพียง 1 นิ้ว หรือ 25 มม. ซึ่งหมายความว่าจำเป็นต้องใช้ Micrometer รุ่นที่แตกต่างกัน สำหรับการวัดวัตถุที่มีขนาดแตกต่างกัน
การบำรุงรักษา และดูแล
เช็ดเส้นรอบวงของแกนหมุนอย่างสม่ำเสมอ และทั้งสองหน้าวัดด้วยผ้าแห้งที่ไม่มีขุย ระวังอย่าทำตก หากคุณทำให้ของคุณเสียหาย โดยไม่ได้ตั้งใจให้ตรวจสอบความถูกต้องก่อนทำการวัด คุณอาจต้องปรับเทียบใหม่ เพื่อตรวจสอบความแม่นยำ
- การปรับเทียบใหม่ หรือหลังจากเก็บไว้ไม่ใช้งานเป็นระยะเวลานานๆ
- ใช้น้ำมันอเนกประสงค์จำนวนเล็กน้อย กับบริเวณภายนอก เพื่อป้องกันการกัดกร่อน และสนิม
- ใส่สารดูดความชื้นในกล่องเพื่อลดความชื้น
นอกจากนี้ยังควรระมัดระวังในการหล่อลื่นเกลียวภายใน หากใช้งานเป็นครั้งคราว หรือไม่ใช้งานเป็นเวลาหลายเดือน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเก็บไว้ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก และมีความชื้นต่ำส่วนใหญ่ มาพร้อมกับกล่องเก็บ และมีสารดูดความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสนิม และเพื่อให้ปลอดภัยเมื่อไม่ใช้งาน