คลอรีนอิสระและคลอรีนรวม (Free & Total Chlorine) คืออะไร

คลอรีนอิสระและคลอรีนรวม

คลอรีนคือสารเคมีมาตรฐาน ที่ใช้ทำให้น้ำนั้นสะอาดให้กับผู้คนมากมายทั่วโลก เหตุผลที่คลอรีนมีประสิทธิภาพสูง และมีความสำคัญต่อการตรวจสอบคุณภาพน้ำ เนื่องจากคลอรีนสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียผ่านปฏิกิริยาเคมีได้ เช่น สระว่ายน้ำ การปะปา หรือในโรงบำบัดน้ำ ซึ่งใช้คลอรีนในปริมาณที่เหมาะสม จะทำให้น้ำปราศจากสิ่งสกปรก

เมื่อเติมคลอรีนลงในสระน้ำโดยตรง จะมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และจุลินทรีย์ต่างๆ คุณควรทราบความแตกต่างระหว่างคลอรีนอิสระ (Free Chlorine) และคลอรีนรวม (Total Chlorine) เนื่องจากคลอรีนแต่ละชนิดทำงานแตกต่างกันเมื่ออยู่ในน้ำ การระบุระดับที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ

คลอรีนอิสระ (Free Chlorine) คืออะไร

คลอรีนอิสระ (Free Chlorine) หมายถึงคลอรีนเป็นอิสระยังไม่ได้รวมกับโมเลกุลของน้ำ ซึ่งมีประสิทธิ์ภาพเพื่อฆ่าเชื้อสารปนเปื้อนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายความว่าน้ำนี้ปราศจากจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายในสระว่ายน้ำของคุณ

คลอรีนชนิดนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบ เนื่องจากจำเป็นหากคุณต้องการฆ่าเชื้อในน้ำของคุณ เช่น ในสระว่ายน้ำ ในน้ำดื่มของการปะปา หากมีคลอรีนอิสระในน้ำไม่เพียงพอ จะไม่สามารถกำจัดแบคทีเรีย และสารปนเปื้อนอื่นๆ ได้

คลอรีนรวม (Total Chlorine) คืออะไร

คลอรีนรวมเป็นผลรวมของคลอรีนคงเหลือ (Combined Chlorine) และคลอรีนอิสระ (Free Chlorine) ซึ่งมีประโยชน์ในการวัดค่าด้วยเหตุผลหลายประการ

 

คลอรีนรวม = คลอรีนคงเหลือ+คลอรีนอิสระ

 

เครื่องมือตรวจคลอรีนราคาถูกส่วนมากจะวัดค่าคลอรีนรวมเท่านั้น แต่หากไม่มีการวัดคลอรีนอิสระ จะไม่สามารถยืนยันได้ว่าไม่มีคลอรีนคงเหลืออยู่ ด้วยเหตุผลนี้ การตรวจสอบทั้งค่าคลอรีนรวม และคลอรีนอิสระจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ระดับคลอรีนที่ปลอดภัย

การรักษาระดับคลอรีนให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม ช่วยให้มั่นใจได้ว่าน้ำมีความปลอดภัย และลดการสะสมของคลอรามีน ชุดทดสอบน้ำในสระ สามารถช่วยตัดสินว่าระดับน้ำอยู่นอกช่วงที่เหมาะสมหรือไม่

แต่นักว่ายน้ำอาจสังเกตเห็นกลิ่นคลอรีน หรือบ่นว่าตา หรือผิวหนังระคายเคืองเล็กน้อย หากระดับอยู่นอกช่วงที่ปลอดภัย อย่าให้นักว่ายน้ำลงสระจนกว่าจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม และทดสอบระดับว่าอยู่ในระยะ

ค่าคลอรีนในสระว่ายน้ำ

  • คลอรีนอิสระ: ช่วงที่เหมาะสม 2.0 ถึง 4.0 ppm
  • คลอรีนรวม: ควรเท่ากับคลอรีนอิสระ

ค่าคลอรีนในน้ำดื่ม

  • ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) คลอรีนในน้ำดื่ม 0.2-1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร (มก./ลิตร หรือส่วนต่อล้าน (ppm)

วิธีการวัดคลอรีน

หลายวิธีที่ใช้ในการทดสอบคลอรีนในน้ำขึ้นอยู่กับการใช้งาน สำหรับเจ้าของบ้านที่กังวลเรื่องระดับคลอรีนหรือผู้ที่ต้องการทราบระดับคลอรีนทั่วไป

1. แถบทดสอบคลอรีน (Chlorine Test strip)

นำแถบทดสอบที่จุ่มลงในน้ำ และซึ่งแถบจะเปลี่ยนสีตามระดับคลอรีน จากนั้นคุณเปรียบเทียบสีกับแผนภูมิเพื่อกำหนดระดับ เหมือนกับเครื่องทดสอบคลอรีนที่ใช้สำหรับการใช้งานในสระว่ายน้ำ โดยปกติแล้ววิธีนี้จะเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก แต่ไม่แม่นยำที่สุด เพราะการเปลี่ยนสีขึ้นอยู่กับการตีความ และส่วนใหญ่ตรวจสอบได้แค่คลอรีนรวม

2. ชุดทดสอบ (Test kits)

เป็นการทดสอบที่จัดเป็นชุดที่ใช้สารเคมี ที่ทำให้สีเปลี่ยนมีคลอรีน มีสินค้าหลายรุ่นให้เลือก ซึ่งสามารถเลือกได้ทั้งคลอรีนอิสระ และคลอรีนรวม ใช้งานง่ายเพียงแค่เติมน้ำลงในหลอด เติมสารละลาย 1-5 หยด แล้วมองหาการเปลี่ยนสี

ข้อดี:

  • ราคาถูก
  • ใช้งานง่ายมาก

ข้อเสีย

  • เกิดความผิดพลาดง่ายการตวงสาร หรือหยดสารละลายในปริมาณไม่ถูกต้อง
  • อ่านค่าไม่ถูกต้องจากการเทียบสี

3. เครื่องวัดค่าคลอรีนแบบดิจิตอล

เทคโนโลยีที่เราจะพูดถึงคือเครื่องวัดคลอรีนมิเตอร์ที่ใช้วิธี DPD ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ทางเคมีที่ทำปฏิกิริยากับคลอรีนที่มีอยู่ และโดยพื้นฐานแล้วจะทำให้น้ำเป็นสีชมพู ซึ่งจะบ่งบอกถึงระดับคลอรีน ให้ความแม่นยำ และการยอมรับเนื่องจากเป็นวิธีมาตรฐาน