ค่า conductivity ของน้ำหรือค่าการนำไฟฟ้า (หรือ Electrical Conductivity หรือค่า EC) ในน้ำคือความสามารถในการนำกระแสไฟฟ้า เกลือ หรือสารเคมีอื่นๆ ที่ละลายในน้ำสามารถแตกตัวเป็นไอออนที่มีประจุบวก และลบได้ ไอออนอิสระเหล่านี้ในน้ำจะนำไฟฟ้า
ดังนั้นค่าการนำไฟฟ้าของน้ำจึงขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของไอออน ซึ่งที่มาของไอออนเหล่านี้มาจากความเค็ม และของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด (TDS) สารเคมี และโลหะหนักที่เจือปนในน้ำทำให้น้ำสามารถนำไฟฟ้าได้
ซึ่งทั้งหมดนี้ใช้ในการวัดค่า EC ของน้ำ ซึ่งช่วยในการระบุความบริสุทธิ์ของน้ำ ยิ่งน้ำบริสุทธิ์ ค่าการนำไฟฟ้ายิ่งต่ำ (น้ำบริสุทธิ์ค่า conductivity เป็น 0) เพื่อเป็นตัวอย่างในชีวิตจริงน้ำกลั่นเกือบจะเป็นฉนวน แต่น้ำเค็มนำไฟฟ้าได้ดี
หน่วยการวัดค่าการนำไฟฟ้า Conductivity
หน่วย SI (International Systems of Units) ของค่า Conductivity การนำไฟฟ้าคือซีเมนส์ต่อเมตร (S/m) หมายความว่าของเหลวสามารถนำกระแสไฟฟ้าผ่านได้ดีเพียงใด เมื่อดูค่า EC ในน้ำ หรือของเหลว โดยทั่วไปเราจะพบว่าน้ำในสภาพธรรมชาติเช่น ฝน น้ำในทะเลสาบ แม่น้ำ ฯลฯ จะมีค่า EC ต่ำ (น้ำบริสุทธิ์ไม่นำไฟฟ้าไม่มีค่า EC=0)
เมื่อน้ำอยู่ภายใต้มลภาวะ การปนเปื้อน หรือสิ่งเจือปน เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงในความนำไฟฟ้าของ EC ของน้ำนั้น เนื่องจากสารที่ละลายจะเพิ่มระดับของ EC
ด้วยเหตุนี้ “EC จึงเป็นเครื่องบ่งชี้มลพิษในน้ำได้ดี” อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าสิ่งเจือปนเช่นเกลือในน้ำทะเลทำให้เกิดการอ่านค่า EC ที่สูงมาก เนื่องจากน้ำมีเกลือละลายอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเมื่อเกลือละลาย มันจะแยกตัวออกเป็นไอออน (อะตอมที่มีประจุไฟฟ้า)
ถึงแม้ว่าหน่วย SI คือซีเมนส์ต่อเมตร (S/m) แต่ในทางปฎิบัติค่า conductivity ในน้ำไม่สูงมากนักจึงนิยมใช้เป็น ไมโครซีเมนส์/เซนติเมตร (µS/cm) และค่า conductivity จะเพิ่มขึ้นจริงเมื่ออุณหภูมิของน้ำเพิ่มขึ้น ดังนั้น EC มักจะถูกบันทึกที่ 25°C โดยมีอุณหภูมิ และ EC พร้อมกัน หน่วยวัดอื่นสำหรับ EC คือ mS/cm หรือมิลลิซีเมนส์ต่อเซนติเมตร 1 mS/cm = 1000 µS/cm
การประยุกต์ใช้ค่าความนำไฟฟ้า Conductivity กับอุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม
การวัดค่าการนำไฟฟ้านี้มีการใช้เป็นประจำในอุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก เป็นวิธีการวัดปริมาณไอออนิกในสารละลายที่รวดเร็ว และเชื่อถือได้เช่นการวัดค่าการนำไฟฟ้าในน้ำสำหรับวัดประสิทธิภาพของระบบทำน้ำให้บริสุทธิ์อย่างต่อเนื่อง มีการใช้งานเครื่องมือตรวจวัด EC ในงานด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
- วัดปริมาณปุ่ยในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ (เนื่องจากการเติมปุ๋ยในน้ำทำให้ค่า Conductivity เพิ่มขึ้น)
- วัดความบริสุทธิ์ของน้ำ (Ultrapure water) ในงานด้านวิทยาศาสตร์
- วัดปริมาณแร่ธาตุในดิน โดยใช้ค่า EC ดิน (ถ้าดินมีค่า conductivity สูงนั่นหมายถึงมีแร่ธาตุในดินในปริมาณมาก)
- วัดความสะอาดของน้ำในระบบหล่อเย็น ระบบ Cooling Tower
การวัดค่า Conductivity หรือค่าการนำไฟฟ้า
สามารถวัดค่าการนำไฟฟ้าได้โดยใช้เครื่องวัด EC Meter ซึ่งมีหัววัดประกอบด้วยขั้วอิเล็กโทรดโลหะสองขั้วโดยเว้นระยะห่าง 1 ซม. (ดังนั้น หน่วยวัดคือ microSeimens หรือ milliSeimens ต่อเซนติเมตร) แรงดันไฟฟ้าคงที่ถูกนำไปใช้กับอิเล็กโทรดส่งผลให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวอย่างที่เป็นน้ำ เนื่องจากกระแสที่ไหลผ่านน้ำเป็นสัดส่วนกับความเข้มข้นของไอออนที่ละลายในน้ำ
เครื่องวัดรุ่นแนะนำ
EC Meter AP-2 AquaPro
เป็นเครื่องมือสำหรับวัดค่า Electrical Conductivity (EC) และอุณหภูมิ แสดงผลเป็นค่าความนำไฟฟ้าในหน่วย Microsiemens (0-9999 μS)
- ช่วง EC: 0-9999 µS (µS/ซม.)
- ช่วงอุณหภูมิ: 0-80 °C; 32-176 °F
- ความแม่นยำ: +/- 2%
EC และ TDS Meter รุ่น AR8011
เหมาะสำหรับทุกการทดสอบคุณภาพน้ำได้แก่น้ำดื่ม การควบคุมน้ำ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การปลูกพืช ไฮโดรโปนิกส์
- ย่านวัด EC: 0μs ~ 19.99mS
- ย่านวัด TDS: 0 ppm ~ 19.99ppt
- แม่นยำ: Conductivity และ TDS: ±3%
- ใบรับรอง Certificate of Calibration
HI993301-02 EC TDS Monitor
ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อตอบสนองความต้องการสำหรับการใช้งานทางการเกษตรพืชสวน และไฮโดรโปนิกส์ สามารถจุ่มวัดค่าได้แบบต่อเนื่อง
- ช่วงวัด EC 0 ถึง 3999 µS/cm
- ช่วงวัด TDS 0 ถึง 2000 ppm
- ช่วงวัดอุณหภูมิ 0.0 ถึง 60.0 °C
- แม่นยำ EC และ TDS ±2% FS
- ใบรับรอง Certificate จากผู้ผลิต
HI981420 เครื่องวัด pH EC TDS Meter แแบบบันทึกค่าได้ DataLogger
HI981420 แบรนด์ Hanna เป็นเครื่องวัด pH และ เครื่องวัด EC Meter และเครื่องวัด TDS และอุณหภูมิ Datalogger 4 IN 1
- ช่วงวัด 0.00 ถึง 14.00 pH (แม่นยำ ± 0.05 pH)
- ช่วงวัด EC 0.00 ถึง 10.00 mS/cm (แม่นยำ ± 0.1)
- ช่วงวัด TDS 0 ถึง 5,000 ppm (แม่นยำ ± 2%)
- ช่วงอุณหภูมิ 0.0 ถึง 60.0 °C (แม่นยำ ± 0.5 °C)
- ใบรับรอง Certificate of Calibration จากผู้ผลิต